วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 เริ่มขึ้นอีกครั้งหลังจากมีเสถียรภาพมาระยะหนึ่ง โดยการที่สภาผู้แทนราษฎร ลงมติให้ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. .... ผ่านการพิจารณาในวาระที่สองและสาม ในเวลาเช้ามืดของวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เป็นเหตุสำคัญที่มีประชาชนหลายกลุ่มแสดงการคัดค้าน โดยสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นผู้นำการชุมนุม รวมถึงพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งต่อต้านด้วยการอ้างว่า ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จะช่วยให้พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พ้นจากความผิดทางการเมือง และสามารถกลับเข้าประเทศไทย ทั้งเชื่อว่า นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตรอยู่เบื้องหลังการนี้ สำหรับการคัดค้านของ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และกลุ่มคนเสื้อแดงส่วนหนึ่ง ด้วยเนื่องจากร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว จะล้างความผิดของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และสุเทพ ให้พ้นจากข้อหาสั่งสลายการชุมนุมเมื่อเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2553 จนมีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ครั้นวันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 วุฒิสภาลงมติไม่เห็นชอบ กับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ แต่การชุมนุมซึ่งนำโดยสุเทพ ยังคงดำเนินต่อไป โดยเปลี่ยนเงื่อนไขเป็นการต่อต้านรัฐบาลแทน
วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แต่พรรคเพื่อไทยปฏิเสธคำวินิจฉัยนี้ โดยให้เหตุผลว่า ศาลรัฐธรรมนูญก้าวล่วงเขตอำนาจของรัฐสภา ในอันที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญตามกระบวนการ รวมทั้งมีสมาชิกพรรคเพื่อไทย และนักวิชาการส่วนหนึ่ง ให้ความเห็นก่อนหน้านี้ว่า ศาลรัฐธรรมนูญละเมิดพระราชอำนาจ เนื่องจากร่างแก้ไขดังกล่าวนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556 จำนวนผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลเพิ่มขึ้นในช่วงสุดสัปดาห์เดียวกัน[13]ทั้งนี้รัฐบาลชี้แจงว่าไม่สามารถขอร่างกฎหมายดังกล่าวคืนได้[14] ทว่าต่อมาในวันที่ 8 ธันวาคม 2556 นายกรัฐมนตรีขอพระราชทาน ถอนร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว พร้อมทั้งขอพระราชทานอภัยโทษ หากระคายเบื้องพระยุคลบาท[15] ขณะที่ นปช.จัดการชุมนุมเพื่อตอบโต้การต่อต้านรัฐบาลขึ้นที่ราชมังคลากีฬาสถานตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ถึงเช้าวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 กลุ่มผู้ประท้วงฝ่ายสุเทพ ก็เริ่มปิดล้อมและพยายามบุกรุกเข้ายึดอาคารสถานที่ราชการหลายแห่ง เพื่อหวังจะบังคับให้ปิดทำการ โดยมีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นอยู่บ้าง ที่สำคัญคือ การปะทะกันระหว่างกลุ่มสนับสนุนและต่อต้านรัฐบาลบริเวณมหาวิทยาลัยรามคำแหง ตลอดทั้งวันที่ 30 พฤศจิกายน ต่อเนื่องถึงเช้าวันที่ 1 ธันวาคม จนมีผู้เสียชีวิต 4 คน และบาดเจ็บ 57 คน[16][17]
การยกระดับการชุมนุมในวันที่ 1 ธันวาคม 2556 เกิดการปะทะกันระหว่างผู้ประท้วงและตำรวจเป็นเวลาสองวัน ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาและหัวฉีดน้ำ เพื่อยับยั้งไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้าไปภายในทำเนียบรัฐบาล โดยมีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ 119 คน[18] ต่อมาในวันที่ 3 ธันวาคม 2556 ตำรวจรื้อถอนสิ่งกีดขวาง แล้วปล่อยให้กลุ่มผู้ประท้วงเข้าไปภายในทำเนียบรัฐบาล เพื่อลดความตึงเครียด และนับเป็นการสงบศึกชั่วคราว เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายฉลองวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช[19] ในวันที่ 5 ธันวาคม 2556 พระองค์มีพระราชดำรัส เรียกร้องให้ทุกฝ่ายสนับสนุนซึ่งกันและกัน[20] อย่างไรก็ตาม สื่อต่างประเทศรายงานว่า ผู้ชุมนุมฝ่ายสุเทพ ซึ่งส่วนมากเป็นพวกคลั่งเจ้า[20][21] ยังคงชุมนุมกันต่อไป จนกว่าจะบรรลุเงื่อนไขในการขจัด "ระบอบทักษิณ" ตามความเชื่อของพวกตน ต่อมาวันที่ 8 ธันวาคม 2556 ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ทั้ง 153 คนประกาศลาออก และในวันที่ 9 ธันวาคม 2556 นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 แต่กลุ่มผู้ชุมนุมปฏิเสธการเลือกตั้งดังกล่าว และเรียกร้องให้จัดตั้ง สภาประชาชน ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เพื่อปฏิรูปการเมือง จึงมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่า เป็นปฏิปักษ์ต่อประชาธิปไตย[22][23]
วันที่ 13 มกราคม 2557 สุเทพนัดหมายให้มีการชุมนุม ปิดล้อมทางแยกต่าง ๆ บนถนนสายหลักในกรุงเทพมหานคร เพื่อกดดันรัฐบาลยิ่งลักษณ์[24][25] นำไปสู่การใช้ความรุนแรง รวมถึงอาวุธปืนและระเบิดเป็นระยะ ๆ[26][27][28][29] จนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตมากขึ้น ในหลายวันถัดมา วันที่ 21 มกราคม 2557 รัฐบาลจึงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในกรุงเทพมหานครและพื้นที่โดยรอบ[30] วันที่ 26 มกราคม 2557 กลุ่มผู้ชุมนุมของสุเทพรวมตัวกัน ขัดขวางการเลือกตั้งล่วงหน้า ในกรุงเทพมหานครและภาคใต้ ทำให้การเลือกตั้งเสียระบบ[31] และผู้มีสิทธิเลือกตั้งราว 440,000 คน ไม่สามารถออกเสียงลงคะแนนได้[32] อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2557 รัฐบาลยิ่งลักษณ์ยืนยันว่า การเลือกตั้งจำเป็นต้องดำเนินตามกำหนดต่อไป ท้ายที่สุดมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งในพื้นที่ที่สามารถลงคะแนนได้คิดเป็นร้อยละ 46.79[33][34]
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ศาลอาญาอนุมัติให้ออกหมายจับ แกนนำกลุ่ม กปปส. จำนวน 19 คน ในข้อหาฝ่าฝืน พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ตามคำร้องของกรมสอบสวนคดีพิเศษ[35]

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ผลการเลือกตั้ง

ผลเลือกตั้ง 2557 เกาะติดผลเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 ทั่วประเทศ  ล่าสุดปิดหีบแล้ว โดย กกต. แถลงว่า ยังไม่นับผลคะแนน จนกว่าจะจัดเลือกตั้งล่วงหน้าใหม่

          วันนี้ (2 กุมภาพันธ์ 2557) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งปิดหีบเลือกตั้ง เมื่อเวลา 15.00 น. หลายฝ่ายต่างก็ลุ้นกันว่า ผล การเลือกตั้ง 2557 ทั่วประเทศ จะออกมาเป็นอย่างไร เนื่องจากก่อนหน้านี้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการเปิดหน่วยเลือกตั้งหลายหน่วย ทำให้ประชาชนไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้ และบางกลุ่มที่คัดค้านการเลือกตั้งก็ยืนยันที่จะโนโหวต ขอไม่ใช้สิทธิ์ใช้เสียงในครั้งนี้

          สำหรับผลการเลือกตั้ง 2557 ทั้งนี้ล่าสุด ทาง กกต. ได้ออกมาแถลงว่า ยังไม่ประกาศผลนับคะแนนรอจัดเลือกตั้งล่วงหน้าใหม่ วันนี้ ทีมงานจึงขอรายงานผลคะแนนบางส่วนอย่างไม่เป็นทางการ และจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ มาให้อ่านกัน ตามไปดูกันเลยค่ะ

 รายชื่อว่าที่ ส.ส.แบ่งเขต (อย่างไม่เป็นทางการ)

ผลการเลือกตั้ง 2557 กรุงเทพมหานคร
          ศูนย์อำนวยการเลือกตั้งกรุงเทพมหานคร ศาลาว่าการ กทม. (เสาชิงช้า) เปิดเผยผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ 2 กุมภาพันธ์ ว่า มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 1,143,667 คน จากผู้มีสิทธิทั้งหมด 4,369,120 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 26.18 ส่วนผู้ที่ไม่มาใช้สิทธิเลือกตั้งมีมากถึง 3,225,453 คน คิดเป็นร้อยละ 73.82

          ทั้งนี้สำนักงานเขตที่ไม่มีปัญหาในการใช้สิทธิเลือกตั้ง จำนวน 35 เขต และมีสำนักเขตที่ไม่สามารถเปิดหน่วยเลือกตั้งได้ทั้งเขตรวม 3 เขต คือ หลักสี่ ดินแดง และราชเทวี ส่วนอีก 12 เขต ปิดหน่วยเลือกตั้งบางแห่ง ได้แก่ ปทุมวัน บางรัก วัฒนา พญาไท ห้วยขวาง บางเขน บึงกุ่ม สวนหลวง จอมทอง บางขุนเทียน บางกะปิ และบางแค

          - ผลการเลือกตั้งหน่วย 4 เขตห้วยขวาง ผู้มีสิทธิ 1,063 คน ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 229 คน โดยพรรคเพื่อไทยคะแนนนำอันดับ 1

          - ผลไม่เป็นทางการ หน่วยเลือกตั้งที่ 12 แขวงบางแวก ภาษีเจริญ คะแนนแบบบัญชีรายชื่ออันดับ 1 คือเพื่อไทย 124 คะแนน โหวต VoteNo 42 คะแนน

          ส่วนผลการเลือกตั้งอื่น ๆ ทีมงานจะทยอยอัพเดทให้ทราบอีกครั้งค่ะ

 ภาคเหนือ

ผลการเลือกตั้ง 2557 เพชรบูรณ์



          บรรยากาศการนับคะแนนที่ จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งปรากฏว่า ผู้สมัคร ส.ส.เพชรบูรณ์ จากพรรคเพื่อไทย ต่างมีคะแนนนำทั้ง 6 เขตเลือกตั้ง ส่วนการนับคะแนน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย นำโด่ง พรรคอื่นเพียงพรรคพรรคเดียว แต่ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ในการนับคะแนนที่หน่วยเลือกตั้งส่วนหนึ่ง จำนวนบัตรเสีย เมื่อรวมกับผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน มีความใกล้เคียงกับบัตรลงคะแนนให้แก่ ส.ส.แบ่งเขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ จากพรรคเพื่อไทย

ผลการเลือกตั้ง 2557 พะเยา

          หน่วยเลือกตั้ง ม.พะเยา มีนิสิตมาเลือกตั้ง 9,920 คน คิดเป็นร้อยละ 63.95%

ผลการเลือกตั้ง 2557 แพร่

          หน่วยเลือกตั้งที่บ้านแม่พุงหลวง อ.วังชิ้น จ.แพร่ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 500 คน ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 90 กว่าคน  VoteNO 60 คน โดยพรรคเพื่อไทยได้ 15 คะแนน ที่เหลือบัตรเสีย

ผลการเลือกตั้ง 2557 เชียงใหม่

          -  จ.เชียงใหม่ ประเมินไม่เป็นทางการหลังปิดหีบ มีผู้มาใช้สิทธิเกิน 65% ทุกเขต (สถิติเลือกตั้งปี 54 คือ 83.13%)

          - หน่วยเลือกตั้งใน อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เขต 2 ผู้มีสิทธิ 65,424 คน ใช้สิทธิ 46,877คน คิดเป็น 71.65%

          - ผลเลือกตั้งจากบ้านแม่ร่ำเปิง ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 798 คน มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 366 คิดเป็นร้อยละ 45.86

 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผลการเลือกตั้ง 2557 ขอนแก่น
          เขตเลือกตั้งที่ 75 ชุมชนทุ่งเศรษฐี อ.เมือง จ.ขอนแก่น ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 789 คน ใช้สิทธิเลือกตั้ง 270 คน โหวต #VoteNO 99

ผลการเลือกตั้ง 2557 นครราชสีมา



          ผลการเลือกตั้งทั่วไป ส.ส.นครราชสีมา อย่างไม่เป็นทางการ ปรากฏว่า  พรรคเพื่อไทย ได้ 10 คน, พรรคชาติพัฒนา 4 คน และพรรคชาติไทยพัฒนา ได้ 1 คน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

          เขตเลือกตั้งที่ 1 : น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล พรรคชาติพัฒนา
          เขตเลือกตั้งที่ 2 : นายวัชรพล โตมรศักดิ์ พรรคชาติพัฒนา
          เขตเลือกตั้งที่ 3 : นายประเสริฐ บุญชัยสุข พรรคชาติพัฒนา
          เขตเลือกตั้งที่ 4 : นายทวิรัฐ รัตนเศรษฐ พรรคเพื่อไทย
          เขตเลือกตั้งที่ 5 : นายโกศล ปัทมะ พรรคเพื่อไทย
          เขตเลือกตั้งที่ 6 : นายสุชาติ ภิญโญ พรรคเพื่อไทย
          เขตเลือกตั้งที่ 7 : นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ พรรคเพื่อไทย
          เขตเลือกตั้งที่ 8 : นางทัศนียา รัตนเศรษฐ พรรคเพื่อไทย
          เขตเลือกตั้งที่ 9 : นายพลพีร์ สุวรรณฉวี พรรคเพื่อไทย
          เขตเลือกตั้งที่ 10 : นายกฤษฎิ์หิรัญ หวังศุภกิจโกศล พรรคเพื่อไทย
          เขตเลือกตั้งที่ 11 : นางจิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล พรรคชาติไทยพัฒนา
          เขตเลือกตั้งที่ 12 : นายสมศักดิ์ พันธุ์เกษม พรรคชาติพัฒนา
          เขตเลือกตั้งที่ 13 : นายศิรสิทธิ์ เลิศด้วยลาภ พรรคเพื่อไทย
          เขตเลือกตั้งที่ 14 : นายประเสริฐ จันทรรวงทอง พรรคเพื่อไทย
          เขตเลือกตั้งที่ 15 : นายวิสิทธิ์ พิทยาภรณ์ พรรคเพื่อไทย


 ภาคกลาง

ผลการเลือกตั้ง 2557 ปทุมธานี 



          สรุปผลคะแนนเลือกปทุมธานีอย่างไม่เป็นทางการ ปรากฏว่า พรรคเพื่อไทย กวาดเก้าอี้แบบยกจังหวัด โดยมีรายละเอียด ดังนี้

          เขตเลือกตั้งที่ 1 : นายศุภชัย นพขำ พรรคเพื่อไทย
          เขตเลือกตั้งที่ 2 : นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล พรรคเพื่อไทย
          เขตเลือกตั้งที่ 3 : นายสมศักดิ์ ใจแคล้ว พรรคเพื่อไทย
          เขตเลือกตั้งที่ 4 : นางสาวพรพิมล ธรรมสาร พรรคเพื่อไทย
          เขตเลือกตั้งที่ 5 : นายชัยยันต์ ผลสุวรรณ์ พรรคเพื่อไทย
          เขตเลือกตั้งที่ 6 : นายสมชาย รังสิวัฒนศักดิ์ พรรคเพื่อไทย

ผลการเลือกตั้ง 2557 ปราจีนบุรี


          นายเจด็จ มุกสิกวงศ์ ประธาน กกต. ปราจีนบุรี เผย ผลการนับคะแนนที่จากทั้ง 3 เขตการเลือกตั้ง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่กาในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนเป็นส่วนใหญ่

          ขณะที่ หน่วยเลือกตั้งที่ 1 ร.ร.เจียหมิน อ.กบินทร์บุรี ของเขต 3 ปราจีนบุรี ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 525 คน มาใช้สิทธิ 118 คน #VoteNO 40 คน ผลคะแนนหน่วยที่ 1 คงกช หงษ์วิไล จากพรรคเพื่อไทย ได้ 50 คะแนน ส่วนเพชรรินทร์ เสียงเจริญ พรรคภูมิใจไทย ได้ 15 คะแนน

ผลการเลือกตั้ง 2557 พระนครศรีอยุธยา

          จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีเขตเลือกตั้ง 5 เขต มีหน่วยเลือกตั้ง 956 หน่วย สรุปผู้มาใช้สิทธิ รวม 317,398 คิดเป็นร้อยละ ร้อยละ50.52 แบ่งเป็นเขตดังนี้

          เขตเลือกตั้งที่ 1 : มีผู้มีสิทธิ 104,504 คน มาใช้สิทธิ 41,178 คน
          เขตเลือกตั้งที่ 2 : ผู้มีสิทธิ 124,849 คน มาใช้สิทธิ 70,170 คน
          เขตเลือกตั้งที่ 3 : ผู้มีสิทธิ 112,849 คน มาใช้สิทธิ 56,079 คน
          เขตเลือกตั้งที่ 4 : ผู้ใช้สิทธิ 104,730 คน มาใช้สิทธิ 80,463 คน
          เขตเลือกตั้งที่ 5 : ผู้มีสิทธิ 127,751 คน มาใช้สิทธิ 68,500 คน

ผลการเลือกตั้ง 2557 อ่างทอง 



          พรรคชาติไทยพัฒนา กวาดเก้าอี้ ส.ส.อ่างทอง โดยมีรายละเอียด ดังนี้

          เขตเลือกตั้งที่ 1 : นายภราดร ปริศนานันทกุล พรรคชาติไทยพัฒนา
          เขตเลือกตั้งที่ 2 : นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล พรรคชาติไทยพัฒนา

ผลการเลือกตั้ง 2557 ราชบุรี
          หน่วยเลือกตั้งที่ 2 ปะรำศาลเจ้าพ่อปู่สงวน อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี นับคะแนนเสร็จ ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 331 คน จาก 888 คน ผลคะแนนปรากฏว่าผู้สมัครเพื่อไทย ได้ 109 คะแนน พรรคภูมิใจไทย นายบุญดำรง ประเสริฐโสภา ได้ 39 คะแนน โดยบัตรเสีย 62 และโหวต VoteNO 121

 ภาคใต้

ผลการเลือกตั้ง 2557 นราธิวาส
          ผลคะแนนหน่วยเลือกตั้งที่ 16 ต.บางนาค อ.เมือง จ.นราธิวาส ไม่ประสงค์ลงคะแนน 59 คน บัตรเสีย 25 ใบ รวมผู้มาใช้สิทธิ 268 คน โดยผลคะแนนหน่วยเลือกตั้งที่ 16 อันดับ 1 นายแวมาหาดี แวดาโอ๊ะ พรรคภูมิใจไทย ได้ 97 คะแนน  อันดับ 2 นายวัชระ ยาวอฮาซัน พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ 82 คะแนน

ผลการเลือกตั้ง 2557 ปัตตานี
          หน่วยเลือกตั้งที่ 16 รูสะมิเเล จ.ปัตตานี นับคะเเนนเสร็จสิ้นเเล้ว มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 91 คน จาก 863 คน ผลการนับคะแนน นายมุขสุไลมาน จากพรรคเพื่อไทย ได้ 21 คะเเนน โหวต #VoteNO 53 และมีบัตรเสีย 11

ผลการเลือกตั้ง 2557 กระบี่

          - ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้

ผลการเลือกตั้ง 2557 ชุมพร

          - ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้

ผลการเลือกตั้ง 2557 ตรัง

          - ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้

ผลการเลือกตั้ง 2557 พังงา

          - ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้

ผลการเลือกตั้ง 2557 พัทลุง

          - ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้

ผลการเลือกตั้ง 2557 ภูเก็ต

          - ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้

ผลการเลือกตั้ง 2557 ระนอง

          - ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้

ผลการเลือกตั้ง 2557 สงขลา

          - ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้

ผลการเลือกตั้ง 2557 สุราษฎร์ธานี

          - ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้

วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556

รัฐธรรมนูญเเห่งราชอาณาจักรไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ปีพ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 18 ฉบับ อันแสดงให้เห็นถึงความขาดเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
รัฐธรรมนูญไทยระบุว่าประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (เขียนว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) กำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ ปัจจุบัน ประเทศไทยใช้ระบบสองสภา แตกต่างจากในอดีตที่ใช้ระบบสภาเดี่ยว รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับกำหนดให้ผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้งแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรหลักที่ทำหน้าที่ตีความรัฐธรรมนูญและวินิจฉัยข้อขัดแย้งข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทั้งหมด


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” จากนั้น ราชอาณาจักรไทย ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ ดังนี้ 
  1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
  2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม
  3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
  4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 [5] รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม
  5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
  6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495
  7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
  8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
  9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515
  10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
  11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519
  12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520
  13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521
  14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534
  15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
  16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
  17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
  18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

คำตัดสินคดีเขาพระวิหาร


?สรุปคำตัดสินศาลโลก 11พ.ย.56?
คำตัดสินคดีปราสาท 16.00 น. ผู้พิพากษาศาลโลกขึ้นนั่งบัลลังก์ตัดสินคดีพระวิหารที่กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์
16.12 น. ผู้พิพากษาศาลโลกเริ่มด้วยการสรุปเกี่ยวกับคำพิพากษาเมื่อปี 2505 เกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร ตามด้วยคำฟ้องของกัมพูชาที่ให้ยื่นขอตีความใหม่
16.19 น. ศาลโลกรับตีความคำร้องของกัมพูชา และมีอำนาจที่จะตีความคำพิพากษา ปี 2505
16.24 น. ศาลปฏิเสธที่จะตัดสินตามคำขอของกัมพูชา ที่ให้รับรองสถานะของแผนที่ภาคผนวก 1 ในฐานะเครื่องกำหนดเส้นเขตแดน เพราะอยู่นอกเหนือขอบเขตคำพิพากษาเดิม และจะพิจารณาคำพิพากษาปี 2505 เฉพาะบริเวณปราสาทพระวิหารเท่านั้น
16.38 น. ศาลบอกว่าการขีดเส้นตามมติ ครม. ปี 2505 ไม่ถูกต้องตามคำพิพากษาของศาล เพราะไม่ได้กำหนดตามแผนที่ภาคผวนก 1 แต่กำหนดตามสันปันน้ำ
16.55 น. ศาลโลกมีมติเอกฉันท์วินิจฉัยว่ากัมพูชามีอธิปไตยในดินแดนทั้งหมดของปราสาทพระวิหาร และประเทศไทยต้องถอนทหารตำรวจจากเขตแดนดังกล่าว และให้ไปเจรจากันเอง  
สรุปศาลไม่ได้ตีความเกินขอบเขตคำพิพากษาเดิม 2505 / พิพากษาเฉพาะตัวปราสาทไม่แตะพื้นที่ 4.6 ตร.กม. สั่งย้อนดูวรรค 98 ของคำพิพากษาเดิม 
ท่านทูตวีระชัย แถลงศาลโลกไม่ได้ให้พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร และภูมะเขือ แก่กัมพูชา แต่จะมีพื้นที่เล็กมากๆ ซึ่งกำลังคำนวณอยู่ 

วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันเเม่เเห่งชาติ

วันเเม่เเห่งชาติ
วันแม่แห่งชาติทุกวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี
วันแม่แห่งชาติ 255
วันแม่แห่งชาติปี 2555 นี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม 2555 และเป็นปีมหามงคลยิ่งเนื่องจากสมเด็จพระบรมราชินีนารถ ทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา

ร่วมลงนามถวายพระพร เนื่องในวโรกาสมหามงคล 80 พรรษาราชินี

วันแม่แห่งชาติ หรือที่คนไทยทั่วไปนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า วันแม่ ทุกคนรับทราบและซาบซึ้งกันดี เนื่องจากวันสำคัญนี้ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถคือ วันที่ 12 สิงหาคม อันเป็นวันคล้ายวันเสด็จพระราชสมภพและถือว่าเป็นวันแม่ของชาติด้วย
 แต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาไว้วันที่ 15 เมษายนของทุก ๆ ปี ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2493 ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป มีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความสำคัญของแม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่าวันแม่ของชาติ
ต่อมาถึง พ.ศ.2519 ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
วันแม่แห่งชาติ เป็นวันที่ทางราชการกำหนดในวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี และถือว่าเป็นวันสำคัญยิ่งของปวงชนชาวไทย โดยกำหนดให้ถือว่า “ดอกมะลิ” สีขาวบริสุทธิ์เป็นสัญลักษณ์ของความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่เรา
กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ
  1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
  2. ?จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ
  3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่
  4. นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่

วันแม่ในประเทศต่าง ๆ
  • อาทิตย์ที่สองของเดือนกุมภาพันธ์  วันแม่แห่งชาติ ประเทศ นอร์เวย์
  • 8 มีนาคม   วันแม่แห่งชาติ ประเทศ บัลแกเรีย, แอลเบเนีย
  • อาทิตย์ที่สี่ในฤดูถือบวชเล็นท์ (มาเทอริง ซันเ ดย์)   วันแม่แห่งชาติ ประเทศ สหราชอาณาจักร, ไอร์แลนด์
  • 21 มีนาคม (วันแรกของฤดูใบไม้ผลิ)    วันแม่แห่งชาติ ประเทศ จอร์แดน, ซีเรีย, เลบานอน, อียิปต์
  • อาทิตย์แรกของเดือนพฤษภาคม    วันแม่แห่งชาติ ประเทศ โปรตุเกส, ลิทัวเนีย, สเปน, แอฟริกาใต้, ฮังการี
  • 8 พฤษภาคม    วันแม่แห่งชาติ ประเทศ  เกาหลีใต้ (วันผู้ปกครอง)
  • 10 พฤษภาคม   วันแม่แห่งชาติ ประเทศ กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย, ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้, บาห์เรน, ปากีสถาน, มาเลเซีย, เม็กซิโก, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, อินเดีย, โอมาน
  • อาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม    วันแม่แห่งชาติ ประเทศ  แคนาดา, สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน), สาธารณรัฐประชาชนจีน, ญี่ปุ่น, เดนมาร์ก, ตุรกี, นิวซีแลนด์, เนเธอร์แลนด์, บราซิล, เบลเยียม, เปรู, ฟินแลนด์, มอลตา, เยอรมนี, ลัตเวีย, สโลวาเกีย, สิงคโปร์, สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, ออสเตรีย, อิตาลี, เอสโตเนีย, ฮ่องกง
  • 26 พฤษภาคม     วันแม่แห่งชาติ ประเทศ  โปแลนด์
  • 27 พฤษภาคม   วันแม่แห่งชาติ ประเทศ โบลิเวีย
    อาทิตย์ที่สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม  สาธารณรัฐโดมินิกัน, สวีเดน
    อาทิตย์แรกของเดือนมิถุนายนหรือ อาทิตย์ที่สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม ฝรั่งเศส
  • 12 สิงหาคม   วันแม่แห่งชาติ ประเทศ  ไทย (วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ)
  • 15 สิงหาคม (วันอัสสัมชัญ)   วันแม่แห่งชาติ ประเทศ  คอสตาริกา, แอนท์เวิร์ป (เบลเยียม)
    อาทิตย์ที่สองหรือสามของเดือนตุลาคม อาร์เจนตินา (D?a de la Madre)
  • 28 พฤศจิกายน   วันแม่แห่งชาติ ประเทศ รัสเซีย
  • 8 ธันวาคม    วันแม่แห่งชาติ ประเทศ ปานามา
  • 22 ธันวาคม   วันแม่แห่งชาติ ประเทศ  อินโดนีเซีย
แหล่งอ้างอิง :
หนังสือ วันสำคัญของไทย โดย สมเจตน์ มุทิตากุล
หนังสือ ประวัติวันสำคัญที่ควรรู้จัก โดย วรนุช อุษณกร
หนังสือ วันสำคัญของไทย โดยธนากิต
หนังสือ วันสำคัญของไทย โดย สุชิราภรณ์ บริสุทธิ์
                                   

วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การเลือกตั้งในประเทศมาเลเซีย พ.ศ. 2556

ธงชาติของมาเลเซีย
2551 ←5 พฤษภาคม 2556

ทั้ง 222 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร
และทั้ง 505 ที่นั่งในสภานิติบัญญัติรัฐใน 12 รัฐของมาเลเซีย (ยกเว้นรัฐซาราวัก)

ฝ่ายข้างมากต้องได้เกิน 112 ที่นั่ง
ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง84.84%
 พรรคที่หนึ่ง
 Dato Sri Mohd Najib Tun Razak.JPG
ผู้นำนาจิบ ราซะก์
พรรคพรรคแนวร่วมแห่งชาติ 
ผู้นำตั้งแต่3 เมษายน 2552
ที่นั่งผู้นำปกัน
ผลครั้งที่แล้ว140 ที่นั่ง, 50.27%
ที่นั่งที่ได้133
เปลี่ยนแปลง 7
คะแนนเสียง5,237,699
ร้อยละ47.38%
Swing 2.89%

นายกรัฐมนตรี
ก่อนการเลือกตั้ง

นายกรัฐมนตรีที่ได้รับแต่งตั้ง